เมนู

ความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
จบ ปริวัฏฏสูตรที่ 4

อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4



ในอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จตุปริวฏฺฏํ ได้แก่ความหมุนเวียน 4 อย่าง ในขันธ์แต่ขันธ์.
บทว่า รูปํ อพฺภญฺญาสึ ความว่า ได้รู้ยิ่งว่า รูปเป็นทุกขสัจ. พึงทราบ
ความด้วยอำนาจสัจจะ 4 ในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. กพฬิง-
การาหารที่เป็นไปกับฉันทราคะ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า อาหารสมุทยา
นี้. บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่เป็นผู้ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.
บทว่า คาธนฺติ แปลว่า ตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขภูมิด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะตรัสอเสขภูมิ จึงตรัสคำมี
อาทิว่า เย จ โข เกจิ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า สุวิมุตฺตา ได้แก่พ้นด้วยดีด้วย
อรหัตตมรรค. บทว่า เกพลิโน ได้แก่มีกำลังเป็นของตน คือมีกิจที่จะ
พึงทำ. บทว่า วฏฺฏํ เตสํ นตฺถิ ปญฺญาปนาย ความว่า สมณพราหมณ์
ความปรากฏย่อมไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏฺฏํ